"ปาฏิหาริย์" พลังพุทธคุณที่ต้องมีบุญหนุนนำ
"รอดตายปาฏิหาริย์" มักปรากฏเป็นข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์และหนังสือพระอย่างต่อเนื่อง ถ้าเป็นนักการเมืองใหญ่ ดาราดัง และบุคคลที่มีชื่อเสียงทางสังคม นอกจากจะสามารถชิงพื้นที่ข่าวแล้ว ยังมีการขยายเหตุแห่งปาฏิหาริย์นั้นออกไปอีก โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า แขวนพระเครื่อง หรือพกพาเครื่องรางของขลังจากวัดใด หรือพระเกจิอาจารย์รูปใดเป็นผู้สร้าง และร่วมปลุกเสกบ้าง แต่ไม่เคยมีใครพูดถึงเรื่อง บุญ และ กุศลกรรม ที่สร้างไว้ก่อนหน้านี้เลย
โดยเหตุแห่งปาฏิหาริย์นั้น นายโอฬาร เพียรธรรม ผู้เขียนหนังสือ ตามหาความจริงวิทยาศาสตร์กับพุทธธรรม และถอดกฎ พบกรรมทฤษฎี ธรรมประยุกต์ ผู้เขียนหนังสือ อธิบายให้ฟังว่า คนที่ประสบอุบัติเหตุแล้วรอดตาย แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ
๑.แขวนพระเครื่อง อธิบายได้ว่า พลังจิตของพระที่มีอภิญญาบรรจุไว้ในพระเครื่องแสดงพลังออกมาในขณะนั้น
๒.อีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้แขวนอะไรเลย เกิดจากบุญบารมีที่ทำไว้ก่อนหน้านี้ ทำให้เทพประจำตัวมาช่วยในเวลาคับขัน
อย่างไรก็ตาม พลังทั้ง ๒ อย่างนี้ หากพูดในด้านศาสนาในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกาย เป็นเรื่องของการบวชเป็นพระ มีผลดี ๑๔ ข้อ โดยเฉพาะข้อที่ ๙ คือ เมื่อสมณะได้บรรลุฌานที่แล้วสามารถจะน้อมจิตเพื่ออิทธิวิธี คือ แสดงฤทธิ์ได้ เพราะฉะนั้น ฤทธิ์ที่ว่านี้ พระสงฆ์สำเร็จฌานขั้นที่ ๔ สามารถแสดงให้ปรากฏต่อสายตาได้ ส่วนความหมายของคำว่า ฌาน แปลว่า เพ่ง หมายถึง การเพ่งอารมณ์ตามกฎแห่งการเจริญกรรมฐานถึง
อันดับที่ ๑ เรียกว่า ปฐมฌาน คือ ฌาน ๑ ถึง
อันดับที่ ๒ เรียกว่า ทุติยฌาน แปลว่า ฌาน ๒ ถึง
อันดับที่ ๓ เรียกว่า ตติยฌาน แปลว่า ฌาน ๓ ถึง
อันดับที่ ๔ เรียกว่า จตุตถฌาน แปลว่า ฌาน ๔ ถึง
อันดับที่แปด คือได้ อรูปฌาน ถึงฌาน ๔ ครบทั้ง ๔ อย่าง เรียกว่า ฌาน ๘
"ในขณะที่เกิดอุบัติเหตุนั้น มีฤทธิ์จากพระเครื่องและเทวดาที่ปกปักรักษาสร้างเครื่องกีดกันไม่ไห้ได้รับอันตราย เปรียบได้กับถุงลมนิรภัย รวมทั้งมีการเบี่ยงเบนวัตถุให้เคลื่อนไปในทิศทางที่ปลอดภัย ที่สำคัญ คือ ต้องมีบุญเดิมอยู่มาผสมผสานกับพลังในวัตถุมงคล หากบุญเราไม่มีเลย สิ่งหนึ่งต้องพึ่งระวัง คือ เมื่อเกิดปาฏิหาริย์ต้องสร้างบุญเพิ่ม เพื่อเป็นทุนที่จะป้องเหตุร้ายในคราวต่อไป เพราะเมื่อเราหมดบุญ เราก็อาจจะหมดลมหายใจ" โอฬารกล่าว พร้อมกันนี้ นายโอฬาร ยังบอกด้วยว่า พระภิกษุหรือฆราวาสก็ตาม ที่จะปลุกเสกน้ำมนต์ พระเครื่อง วัตถุมงคลต่างๆ ย่อมจะเป็นผู้มีพลังจิตสูง เช่น เจริญสมถะกรรมฐาน ได้รูปฌาน ๔ เป็นต้น พลังจิตในผู้นั้น นอกจากจะน้อมจิตมาให้เกิดความสามารถพิเศษ เช่น แสดงฤทธิ์ต่างๆ มี อาทิ หายตัว เดินน้ำ ดำดิน หรือ มีหูทิพย์ ตาทิพย์ ฯลฯ (ระบุในสามัญผลสูตร, สีลขันธวรรค, ทีฆนิกาย, พระสุตตันตปิฎก) แล้ว ก็ยังสามารถเอาพลังจิตนั้นมาแผ่ใส่ในวัตถุมงคลต่างๆ ให้เก็บรับพลังไว้ ตามแต่การตั้งเจตนาในจิต เช่น ให้มีพลังความเมตตา ให้แคล้วคลาดจากภยันตราย ให้คงกระพันชาตรี เป็นต้น ทั้งนี้ จากการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ที่ว่าสรรพสิ่งต่างๆ ในโลก เมื่อพิจารณาในสถานะ ควอนตัม แล้ว จะมีตัวรู้ รับรู้เก็บข้อมูลต่างๆ ได้ จึงอธิบายได้ชัดเจนว่า ทำไมพลังจิตจากผู้มีอภิญญา จึงส่งกระจายมาเก็บไว้ในวัตถุมงคลต่างๆ ได้ เมื่อถึงโอกาสที่เราจะมาใช้งาน ผู้มีวัตถุมงคลในครอบครองก็ต้องอาศัยกำลังจิตของตนเองที่มั่นคง แน่วแน่ ร่วมกับพลังที่มีอยู่ในวัตถุมงคลนั้นๆ มาใช้ให้เกิดผลในแนวทางที่พลังในวัตถุมงคลนั้นกำหนดมา ซึ่งก็ทำให้เกิดสิ่งที่คนทั่วๆ ไปอาจมองว่าเป็น ปาฏิหาริย์ หรือ ความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งความจริงเป็นสิ่งที่อธิบายได้ด้วยวิชาการในพุทธศาสนา และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันนั่นเอง
แม่ย่านาง
วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556
วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556
แม่ย่านาง
แม่ย่านาง ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์ในการออกเดินทาง ไม่ว่าทางน้ำ ทางอากศ หรือทางเรือ ปัจจุบันในเครื่องบินที่บรรจุผู้โดยสาร บางเครื่องมีองค์เทพแม่ย่านางตั้งอยุ่ด้วย เพื่อเป็นศิริมงคลและโชคโลภความปลอดภัยในการเดินทาง...อีกด้วย
แม่ย่านาง คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนไทยเคารพนับถือว่าคอยคุ้มครองปกป้องกันภัย ให้แก่พาหนะ เช่น รถ เรือ หรือเชื่อว่าสิงสถิตอยู่ในรถ ในเรือ และให้คุณให้โทษแก่ผู้ขับขี่โดยสารได้
แม่ย่านาง คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนไทยเคารพนับถือว่าคอยคุ้มครองปกป้องกันภัย ให้แก่พาหนะ เช่น รถ เรือ หรือเชื่อว่าสิงสถิตอยู่ในรถ ในเรือ และให้คุณให้โทษแก่ผู้ขับขี่โดยสารได้
การไหว้แม่ย่านางเรือ
ช่วงเวลา ทำทุกเดือน หรือนาน ๆ ครั้งก็ได้ พวกที่ทำทุกเดือนจะทำตอน "หยุดหงาย" คือเวลาที่หยุดออกเรือและเดือนหงาย
ลักษณะความเชื่อ
แม่ย่านาง หรือ แม่ย่านนาง เป็นคำศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่เชื่อกันว่าสถิตอยู่ประจำเรือแต่ละลำ ชาวเรือที่ออกเรือต้องบูชากราบไหว้ เพราะเชื่อว่าแม่ย่านางจะดลบันดาลให้ชาวประมงหรือผู้เป็นเจ้าของเรือมีโชคลาภ หรือประสบความสำเร็จตามปรารถนาได้สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์บอกให้รู้ว่าเรือลำใดมีแม่ย่านาง ก็คือ ที่หัวเรือจะผูกด้วยด้ายขาว ด้ายแดงและผ้าแดง ก่อนออกเรือทุกครั้ง จะพูดกับแม่ย่านางว่า "อย่าให้มันขัด อย่าให้มันข้อง ให้คล่อง ให้คล่อง ให้แคล้วให้แคล้วทุกอย่าง ออกถึงได้พบปลาทันที ให้สมปรารถนา จะให้รางวัลแก่แม่ย่านาง
ความสำคัญ
ทำให้มีโชคลาภ ประสบความสำเร็จสมปรารถนา
พิธีกรรม
เครื่องบูชาแม่ย่านางได้แก่ไก่ตัวผู้ ๑ ตัว เหล้า ๑ ขวด หัวหมู ๑ หัว ขนมโค (ขนมต้มขาว) ขนมถั่ว ขนมงา กล้วย ผลไม้อื่น ๆ ตามแต่จะหาได้ ปลามีหัวมีหาง ข้าวแกง แก้วเหล้า แก้วน้ำ สิ่งเหล่านี้เตรียมใส่ภาชนะให้เรียบร้อย แล้วเอาผ้าแดง ด้ายแดง ด้ายขาว ผูกหัวเรือ ใช้ธูป ๙ ดอกจุดไฟ พร้อมกับออกชื่อแม่ย่านาง โดยกล่าวเชิญมารับเครื่องเซ่น เครื่องบูชา ขอให้ช่วยคุ้มครองป้องกันอันตรายทุกอย่างและช่วยนำโชคลาภมาให้นอกจากการจัดเครื่องบูชา เครื่องเซ่นแม่ย่านางแล้ว จะต้องจัดอาหารให้แก่บริวารแม่ย่านางอีกส่วนหนึ่งด้วย โดยไม่รวมกับของแม่ย่านาง หลังจากนั้นต้องจุดประทัด แล้วรีบเบี่ยงหัวเรือออกทะเล อาหารที่เหลือจากการบูชาแม่ย่านางแบ่งให้พรรคพวกบนเรือรับประทานก็เป็นอันเสร็จพิธี
ถ้าเจ้าของเรือเป็นคนจีน เครื่องบูชาโดยเฉพาะไก่ ต้องนำไก่เป็นลงไปในเรือ ใช้มีดเชือดคอไก่ รองเอาเลือดราดหัวเรือไปจนตลอดท้ายเรือ แล้วนำซากไก่ทิ้งน้ำ ห้ามเก็บไปปรุงเป็นอาหารรับประทานโดยเด็ดขาด
ลักษณะความเชื่อ
แม่ย่านาง หรือ แม่ย่านนาง เป็นคำศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่เชื่อกันว่าสถิตอยู่ประจำเรือแต่ละลำ ชาวเรือที่ออกเรือต้องบูชากราบไหว้ เพราะเชื่อว่าแม่ย่านางจะดลบันดาลให้ชาวประมงหรือผู้เป็นเจ้าของเรือมีโชคลาภ หรือประสบความสำเร็จตามปรารถนาได้สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์บอกให้รู้ว่าเรือลำใดมีแม่ย่านาง ก็คือ ที่หัวเรือจะผูกด้วยด้ายขาว ด้ายแดงและผ้าแดง ก่อนออกเรือทุกครั้ง จะพูดกับแม่ย่านางว่า "อย่าให้มันขัด อย่าให้มันข้อง ให้คล่อง ให้คล่อง ให้แคล้วให้แคล้วทุกอย่าง ออกถึงได้พบปลาทันที ให้สมปรารถนา จะให้รางวัลแก่แม่ย่านาง
ความสำคัญ
ทำให้มีโชคลาภ ประสบความสำเร็จสมปรารถนา
พิธีกรรม
เครื่องบูชาแม่ย่านางได้แก่ไก่ตัวผู้ ๑ ตัว เหล้า ๑ ขวด หัวหมู ๑ หัว ขนมโค (ขนมต้มขาว) ขนมถั่ว ขนมงา กล้วย ผลไม้อื่น ๆ ตามแต่จะหาได้ ปลามีหัวมีหาง ข้าวแกง แก้วเหล้า แก้วน้ำ สิ่งเหล่านี้เตรียมใส่ภาชนะให้เรียบร้อย แล้วเอาผ้าแดง ด้ายแดง ด้ายขาว ผูกหัวเรือ ใช้ธูป ๙ ดอกจุดไฟ พร้อมกับออกชื่อแม่ย่านาง โดยกล่าวเชิญมารับเครื่องเซ่น เครื่องบูชา ขอให้ช่วยคุ้มครองป้องกันอันตรายทุกอย่างและช่วยนำโชคลาภมาให้นอกจากการจัดเครื่องบูชา เครื่องเซ่นแม่ย่านางแล้ว จะต้องจัดอาหารให้แก่บริวารแม่ย่านางอีกส่วนหนึ่งด้วย โดยไม่รวมกับของแม่ย่านาง หลังจากนั้นต้องจุดประทัด แล้วรีบเบี่ยงหัวเรือออกทะเล อาหารที่เหลือจากการบูชาแม่ย่านางแบ่งให้พรรคพวกบนเรือรับประทานก็เป็นอันเสร็จพิธี
ถ้าเจ้าของเรือเป็นคนจีน เครื่องบูชาโดยเฉพาะไก่ ต้องนำไก่เป็นลงไปในเรือ ใช้มีดเชือดคอไก่ รองเอาเลือดราดหัวเรือไปจนตลอดท้ายเรือ แล้วนำซากไก่ทิ้งน้ำ ห้ามเก็บไปปรุงเป็นอาหารรับประทานโดยเด็ดขาด
การไหว้แม่ย่านางรถ
เตรียมสิ่งของดังนี้
ดอกไม้ 1 กำ
พวงมาลัย (ดอกรักและดาวเรือง) 1 พวง
มะพร้าวอ่อน 1 ลูก
กล้วยน้ำว้าสุก 1 หวี
ผ้าสามสี 1 ชุด
เทียน 1 คู่
ธูปหอม 9 ดอก
หันหน้ารถสู่ทิศเหนือ ตั้งโต๊ะ นำของทั้งหมดใส่ถาด
จุดเทียน ธูป อธิษฐานสิ่งที่ดีงาม
เช่น ขอต้อนรับแม่ย่า ขอให้มาอยู่กับลูก ลูกจะตั้งใจทำมาหากิน ไม่ประมาท ห้ามทำอะไรที่มิดีบนรถ เช่น sex
ขอแม่ย่านางช่วยปกปักรักษาลูกให้รอดปลอดภัย ปราศจากอันตรายทั้งหลายทั้งปวง
รอจนธูปดับหมดแล้วบอกลาเครื่องเซ่น นำผ้าสามสีมาผูกที่รถ
ดอกไม้ 1 กำ
พวงมาลัย (ดอกรักและดาวเรือง) 1 พวง
มะพร้าวอ่อน 1 ลูก
กล้วยน้ำว้าสุก 1 หวี
ผ้าสามสี 1 ชุด
เทียน 1 คู่
ธูปหอม 9 ดอก
หันหน้ารถสู่ทิศเหนือ ตั้งโต๊ะ นำของทั้งหมดใส่ถาด
จุดเทียน ธูป อธิษฐานสิ่งที่ดีงาม
เช่น ขอต้อนรับแม่ย่า ขอให้มาอยู่กับลูก ลูกจะตั้งใจทำมาหากิน ไม่ประมาท ห้ามทำอะไรที่มิดีบนรถ เช่น sex
ขอแม่ย่านางช่วยปกปักรักษาลูกให้รอดปลอดภัย ปราศจากอันตรายทั้งหลายทั้งปวง
รอจนธูปดับหมดแล้วบอกลาเครื่องเซ่น นำผ้าสามสีมาผูกที่รถ
ประวัติแม่ย่านาง
แม่ย่านาง คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนไทยเคารพนับถือว่าคอยคุ้มครองปกป้องกันภัย ให้แก่พาหนะ เช่น รถ เรือ หรือเชื่อว่าสิงสถิตอยู่ในรถ ในเรือ และให้คุณให้โทษแก่ผู้ขับขี่โดยสารได้
ตำนาน ความเชื่อเกี่ยวกับแม่ย่านางนั้นมีอยู่ว่า เมื่อพระอิศวรและพระแม่อุมาเสด็จประพาสทะเล กุ้งได้ออกมาร้องเรียนว่าตนเองเป็นสัตว์ที่ร่างกายมีแต่เนื้อ เปลือกห่อหุ้มบาง ไม่สามารถป้องกันตัวเองได้ ทำให้ถูกบรรดาสัตว์น้ำอื่นๆ จับกินเสียมาก พระแม่อุมาจึงประทานพรให้กุ้ง มีเลื่อยสองคมปลายแหลมอยู่บนหัว มีหอกปลายแหลมอยู่ที่หาง เมื่อสัตว์ใดกินเข้าไปจะได้ใช้หางเจาะออกมาให้เข็ดหลาบ ซึ่งอาหารที่กุ้งสามารถกินเองได้ จะต้องเป็นของที่ตายเน่าเปื่อยเท่านั้น
จาก นั้น ประชากรกุ้งจึงมีมากจนเสียสมดุล กั้งจึงมาชักชวนผสมพันธ์แล้วออกอุบาย ให้กุ้งใช้อาวุธติดตัวเจาะท้องเรือสำเภาให้จม เมื่อจีนคนไหนว่ายน้ำไม่เป็นก็จะจมน้ำตาย กลายเป็นอาหารส่วนหัวกุ้งแบ่งให้กั้ง ส่วนตัวกุ้งเอาไปกิน ด้วยเหตุนี้ เรือสำเภาจึงตกเป็นเป้าและได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก พวกนายสำเภาจึงได้วิงวอนขอให้เจ้าหมาจ่อช่วยบอกกล่าวเทพเจ้าให้มาช่วยเหลือ เจ้าหมาจ่อสงสารชาวเรือ จึงบอกให้นำของมาเซ่นไหว้พลีกรรม ได้แก่ ผ้าแพรสีแดง สีทับทิม สิ่งละสิบพับ กับดอกไม้ธูปเทียน สำหรับเจ้าที่ เมื่อได้รับของถวายเจ้าหมาจ่อจึงให้นายทหารนำของไปถวายเจ้าทั้งแปดทิศ แล้วร่วมปรึกษาหารือกันว่าจะนำความไปกราบทูลพระอิศวรและพระแม่อุมาเทวีให้ ตัดสินปัญหา พระแม่อุมาจึงสั่งให้พระอนันตนาคราชไปปราบกุ้งที่ผิดคำสัตย์และใช้อุบายทำให้ มนุษย์เดือดร้อน จากนั้นพระอนันตนาคราชรับโองการ ลงไปถึงพระคงคา กุ้งที่ทำผิดก็ร้อนตัวกลัวจนกระเพาะและของเก่าใหม่ขึ้นมาบนสมอง จากนั้นจึงถูกสาปให้เรือสำเภาน้อยใหญ่ที่พวกตนเจาะให้ล่มเข้าไปอยู่ในแก้ม ซ้ายขวา ถ่วงหัวไม่ให้เงยขึ้นมาเจาะเรือสำเภาได้อีก แล้วพระอนันตนาคราชจึงสั่งให้จีนเดินสมุทรทั้งหลายนับถือเจ้ายอดสวรรค์ ให้คุ้มครองรักษาเรือสำเภาทุกเที่ยวไปมาจนติดมากระทั่งทุกวันนี้
ด้วยเหตุนี้ แม่ย่านาง จึงได้กลายเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของเทพ ผู้พิทักษ์ปกป้องคุ้มครอง พาหนะทุกประเภท ทั้งเรือ รถยนต์ จักรยานยนต์ เครื่องบิน ฯลฯ ที่ให้คุณให้โทษได้ ผู้ขับขี่จึงมีความเคารพยำเกรงต่อแม่ย่านาง จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย ในสมัยที่การคมนาคมส่วนใหญ่ใช้ทางน้ำ ประชาชนนิยมโดยสารเรือเป็นหลัก ก็มีการบวงสรวงแม่ย่านางเรือ โดยเฉพาะเรือพระราชพิธีที่ใช้ในการพระราชพิธีที่สำคัญ เช่น กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ก่อนออกแล่นเรือจริงต้องมีการนำเครื่องบูชามาทำพิธีบวงสรวงเพื่อความเป็นสิริมงคล เข้าใจว่าเพื่อบอกกล่าวแม่ย่านางที่สิงสถิตอยู่กับเรือแต่ละลำได้รับรู้และ ปกปักรักษาอย่าให้เกิดอุบัติเหตุเภทภัยใดๆ เรือชาวบ้านก็มีการบวงสรวงเช่นกัน ผู้ที่มีความศรัทธามาก นิยมนำผ้าสามสีมาผูกที่หัวเรือ เพื่อแสดงความเคารพแก่แม่ย่านางและเพื่อเสริมสิริมงคลให้แก่เรือนั้นๆ
ชาวประมงมีความเชื่อว่าแม่ย่านางจะคุ้มครองทุกคนให้ปลอดภัยในการเดินเรือและ ช่วยให้หาปลาได้มากๆ ดังนั้น ก่อนออกเรือจึงต้องมีการกราบไหว้แม่ย่านางทุกครั้งและเซ่นสังเวยแม่ย่านาง ก่อนที่จะนำเรือออกทำกิจการต่างๆ สังคมชาวประมงยังยึดมั่นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอย่างเหนียวแน่น การปฏิบัติตามความเชื่อใดทำให้แม่ย่านางพอใจต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดที่ สุด ไม่เช่นนั้นแม่ย่านางอาจจะไม่พอใจและจะนำความพินาศมาสู่เรือได้ เช่น
1.ไม่ทะเลาะกันขณะอยู่ในเรือ
2.ไม่ทำเรือสกปรก
3.ไม่ดื่มสุราก่อนออกจากเรือ
4.ไม่เหยียบโขนเรือ
5.ไม่นำผู้หญิงมาร่วมเพศในเรือ
ตำนาน ความเชื่อเกี่ยวกับแม่ย่านางนั้นมีอยู่ว่า เมื่อพระอิศวรและพระแม่อุมาเสด็จประพาสทะเล กุ้งได้ออกมาร้องเรียนว่าตนเองเป็นสัตว์ที่ร่างกายมีแต่เนื้อ เปลือกห่อหุ้มบาง ไม่สามารถป้องกันตัวเองได้ ทำให้ถูกบรรดาสัตว์น้ำอื่นๆ จับกินเสียมาก พระแม่อุมาจึงประทานพรให้กุ้ง มีเลื่อยสองคมปลายแหลมอยู่บนหัว มีหอกปลายแหลมอยู่ที่หาง เมื่อสัตว์ใดกินเข้าไปจะได้ใช้หางเจาะออกมาให้เข็ดหลาบ ซึ่งอาหารที่กุ้งสามารถกินเองได้ จะต้องเป็นของที่ตายเน่าเปื่อยเท่านั้น
จาก นั้น ประชากรกุ้งจึงมีมากจนเสียสมดุล กั้งจึงมาชักชวนผสมพันธ์แล้วออกอุบาย ให้กุ้งใช้อาวุธติดตัวเจาะท้องเรือสำเภาให้จม เมื่อจีนคนไหนว่ายน้ำไม่เป็นก็จะจมน้ำตาย กลายเป็นอาหารส่วนหัวกุ้งแบ่งให้กั้ง ส่วนตัวกุ้งเอาไปกิน ด้วยเหตุนี้ เรือสำเภาจึงตกเป็นเป้าและได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก พวกนายสำเภาจึงได้วิงวอนขอให้เจ้าหมาจ่อช่วยบอกกล่าวเทพเจ้าให้มาช่วยเหลือ เจ้าหมาจ่อสงสารชาวเรือ จึงบอกให้นำของมาเซ่นไหว้พลีกรรม ได้แก่ ผ้าแพรสีแดง สีทับทิม สิ่งละสิบพับ กับดอกไม้ธูปเทียน สำหรับเจ้าที่ เมื่อได้รับของถวายเจ้าหมาจ่อจึงให้นายทหารนำของไปถวายเจ้าทั้งแปดทิศ แล้วร่วมปรึกษาหารือกันว่าจะนำความไปกราบทูลพระอิศวรและพระแม่อุมาเทวีให้ ตัดสินปัญหา พระแม่อุมาจึงสั่งให้พระอนันตนาคราชไปปราบกุ้งที่ผิดคำสัตย์และใช้อุบายทำให้ มนุษย์เดือดร้อน จากนั้นพระอนันตนาคราชรับโองการ ลงไปถึงพระคงคา กุ้งที่ทำผิดก็ร้อนตัวกลัวจนกระเพาะและของเก่าใหม่ขึ้นมาบนสมอง จากนั้นจึงถูกสาปให้เรือสำเภาน้อยใหญ่ที่พวกตนเจาะให้ล่มเข้าไปอยู่ในแก้ม ซ้ายขวา ถ่วงหัวไม่ให้เงยขึ้นมาเจาะเรือสำเภาได้อีก แล้วพระอนันตนาคราชจึงสั่งให้จีนเดินสมุทรทั้งหลายนับถือเจ้ายอดสวรรค์ ให้คุ้มครองรักษาเรือสำเภาทุกเที่ยวไปมาจนติดมากระทั่งทุกวันนี้
ด้วยเหตุนี้ แม่ย่านาง จึงได้กลายเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของเทพ ผู้พิทักษ์ปกป้องคุ้มครอง พาหนะทุกประเภท ทั้งเรือ รถยนต์ จักรยานยนต์ เครื่องบิน ฯลฯ ที่ให้คุณให้โทษได้ ผู้ขับขี่จึงมีความเคารพยำเกรงต่อแม่ย่านาง จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย ในสมัยที่การคมนาคมส่วนใหญ่ใช้ทางน้ำ ประชาชนนิยมโดยสารเรือเป็นหลัก ก็มีการบวงสรวงแม่ย่านางเรือ โดยเฉพาะเรือพระราชพิธีที่ใช้ในการพระราชพิธีที่สำคัญ เช่น กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ก่อนออกแล่นเรือจริงต้องมีการนำเครื่องบูชามาทำพิธีบวงสรวงเพื่อความเป็นสิริมงคล เข้าใจว่าเพื่อบอกกล่าวแม่ย่านางที่สิงสถิตอยู่กับเรือแต่ละลำได้รับรู้และ ปกปักรักษาอย่าให้เกิดอุบัติเหตุเภทภัยใดๆ เรือชาวบ้านก็มีการบวงสรวงเช่นกัน ผู้ที่มีความศรัทธามาก นิยมนำผ้าสามสีมาผูกที่หัวเรือ เพื่อแสดงความเคารพแก่แม่ย่านางและเพื่อเสริมสิริมงคลให้แก่เรือนั้นๆ
ชาวประมงมีความเชื่อว่าแม่ย่านางจะคุ้มครองทุกคนให้ปลอดภัยในการเดินเรือและ ช่วยให้หาปลาได้มากๆ ดังนั้น ก่อนออกเรือจึงต้องมีการกราบไหว้แม่ย่านางทุกครั้งและเซ่นสังเวยแม่ย่านาง ก่อนที่จะนำเรือออกทำกิจการต่างๆ สังคมชาวประมงยังยึดมั่นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอย่างเหนียวแน่น การปฏิบัติตามความเชื่อใดทำให้แม่ย่านางพอใจต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดที่ สุด ไม่เช่นนั้นแม่ย่านางอาจจะไม่พอใจและจะนำความพินาศมาสู่เรือได้ เช่น
1.ไม่ทะเลาะกันขณะอยู่ในเรือ
2.ไม่ทำเรือสกปรก
3.ไม่ดื่มสุราก่อนออกจากเรือ
4.ไม่เหยียบโขนเรือ
5.ไม่นำผู้หญิงมาร่วมเพศในเรือ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)