ช่วงเวลา ทำทุกเดือน หรือนาน ๆ ครั้งก็ได้ พวกที่ทำทุกเดือนจะทำตอน "หยุดหงาย" คือเวลาที่หยุดออกเรือและเดือนหงาย
ลักษณะความเชื่อ
แม่ย่านาง หรือ แม่ย่านนาง เป็นคำศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่เชื่อกันว่าสถิตอยู่ประจำเรือแต่ละลำ ชาวเรือที่ออกเรือต้องบูชากราบไหว้ เพราะเชื่อว่าแม่ย่านางจะดลบันดาลให้ชาวประมงหรือผู้เป็นเจ้าของเรือมีโชคลาภ หรือประสบความสำเร็จตามปรารถนาได้สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์บอกให้รู้ว่าเรือลำใดมีแม่ย่านาง ก็คือ ที่หัวเรือจะผูกด้วยด้ายขาว ด้ายแดงและผ้าแดง ก่อนออกเรือทุกครั้ง จะพูดกับแม่ย่านางว่า "อย่าให้มันขัด อย่าให้มันข้อง ให้คล่อง ให้คล่อง ให้แคล้วให้แคล้วทุกอย่าง ออกถึงได้พบปลาทันที ให้สมปรารถนา จะให้รางวัลแก่แม่ย่านาง
ความสำคัญ
ทำให้มีโชคลาภ ประสบความสำเร็จสมปรารถนา
พิธีกรรม
เครื่องบูชาแม่ย่านางได้แก่ไก่ตัวผู้ ๑ ตัว เหล้า ๑ ขวด หัวหมู ๑ หัว ขนมโค (ขนมต้มขาว) ขนมถั่ว ขนมงา กล้วย ผลไม้อื่น ๆ ตามแต่จะหาได้ ปลามีหัวมีหาง ข้าวแกง แก้วเหล้า แก้วน้ำ สิ่งเหล่านี้เตรียมใส่ภาชนะให้เรียบร้อย แล้วเอาผ้าแดง ด้ายแดง ด้ายขาว ผูกหัวเรือ ใช้ธูป ๙ ดอกจุดไฟ พร้อมกับออกชื่อแม่ย่านาง โดยกล่าวเชิญมารับเครื่องเซ่น เครื่องบูชา ขอให้ช่วยคุ้มครองป้องกันอันตรายทุกอย่างและช่วยนำโชคลาภมาให้นอกจากการจัดเครื่องบูชา เครื่องเซ่นแม่ย่านางแล้ว จะต้องจัดอาหารให้แก่บริวารแม่ย่านางอีกส่วนหนึ่งด้วย โดยไม่รวมกับของแม่ย่านาง หลังจากนั้นต้องจุดประทัด แล้วรีบเบี่ยงหัวเรือออกทะเล อาหารที่เหลือจากการบูชาแม่ย่านางแบ่งให้พรรคพวกบนเรือรับประทานก็เป็นอันเสร็จพิธี
ถ้าเจ้าของเรือเป็นคนจีน เครื่องบูชาโดยเฉพาะไก่ ต้องนำไก่เป็นลงไปในเรือ ใช้มีดเชือดคอไก่ รองเอาเลือดราดหัวเรือไปจนตลอดท้ายเรือ แล้วนำซากไก่ทิ้งน้ำ ห้ามเก็บไปปรุงเป็นอาหารรับประทานโดยเด็ดขาด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น